วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

ประวัติรองเท้า

ประวัติรองเท้าUMBRO

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ umbroประวัติ




คำว่า umbro ย่อมาจากชื่อนามสกุลของพี่น้องสองคนคือ Harold - Wallace Humphreys (brother) และ แบรนด์นี้เกิดขึ้นในปี 1924 หรือเกือบ 100 ปีที่แล้ว ไม่ต้องถามว่าทีมอะไรบ้าง ที่ใช้เสื้อผ้าบราห้อนี้ เพราะทีมดังๆ เคยผ่านมาหมด ทั้งบราซิล และอังกฤษ หรือแมนยู ลิเวอร์พูล

แต่โลกของทุนนิยมที่มีเงื่อนไข ทำให้อัมโบรถูกเทคโอเวอร์โดยไนกี้ และในเดือนเมษายนนี้ อังกฤษจะต้องใช้แบรนด์ของไนกี้เป็นครั้งแรก

ไม่ใช่เรื่องฟูมฟาย แต่จะบอกว่า อัมโบรมีความผูกพันยาวนานกับโลกฟุตบอล อีกทั้งเคยผ่านช่วงคลาสสิค คือยุคที่แฟชั่นและฟุตบอล ผ่องถ่ายน้ำหนักต่อกัน

ในช่วงกำเนิดวัฒนธรรม pop culture ทศวรรษที่ 60 วงการฟุตบอลเคยรับเอา “แฟชั่นที่ทันสมัย” อันเกิดความนิยมเสื้อคอกลมทำจากวัถุดิบสังเคราะห์ (อาจได้อิทธิพลจากแจ๊คเกตไร้ปกของ The Beatles ) พร้อมกับการกลับมาของเสื้อแขนยาว รูปแบบชุดสีดั้งเดิมถูกละเลย

ทีมหนึ่งที่รับแฟชั่นเสื้อผ้ามาอย่างชัดเจนก็คือ Leeds United ซึ่งเปลี่ยนจากสีน้ำเงินและสีเหลือง มาเป็นสีขาวในช่วงยุค 60 ภายใต้คำแนะนำของดอน เรวี (Don Revie) เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและแฟชั่นอย่าง รีล มาดริด นับแต่อดีตจนถึงช่วงเวลานั้น บริษัทสัญชาติอังกฤษเช่น Umbro และ Bukta ถือเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญเบื้องหลังผลิตภัณฑ์เสื้อผ้านักกีฬา

แต่ในช่วงยุค 60 ถึง 70 แบรนด์ยุโรปอย่าง อาดิดาส และ พูมา เริ่มสร้างความประทับใจในการแข่งขันฟุตบอล ถึงแม้ว่าในสมัยนั้นคุณไม่สามารถบอกได้ว่าใครเป็นผู้ผลิตเสื้อยืดของนักกีฬา นอกเสียจากคุณจะมองเห็นป้ายยี่ห้อขนาดเล็กที่ติดอยู่ภายใน ชุดจำลองของนักกีฬายังไม่มีวางจำหน่ายและตรา
เครื่องหมายของผู้ผลิตยังไม่ปรากฏบนเสื้อฟ้าจนกระทั่งฤดูกาลปี 1973-1974

หลังจากนั้นไม่นาน ชุดจำลองของนักกีฬาเวอร์ชั่นแรกก็ออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก ต่อมาไม่นานนักสมาคมฟุตบอลก็ออกกฎเรื่องขนาดโลโก้ผู้ผลิตที่ปรากฏบนเสื้อผ้า นักกีฬา และด้วยความช่างคิดของผู้ผลิตจึงเกิดการตกแต่งแขนเสื้อทั้งสองข้างด้วยโลโก้ ดังกล่าว เพื่อการขายสินค้าอย่างมี
ประสิทธิภาพ (แม้เป็นการกระทำอันละเลยกฎของสมาคมก็ตาม)

หลังผ่านวัฒนธรรมช่วง 60 ต่อด้วยความหวือหวาแห่งยุค 70 กางเกงขาบานและเสื้อผ้าฉูดฉาดพบเห็นอยู่ทั่วทั้งอัฒจันทร์ คอปกเสื้อตั้งตรงเป็นส่วนหนึ่งของดีไซน์แบบกล้าได้กล้าเสียของยี่ห้อ แอดมิรัล อัมโบร และอาดิดาส นอกจากนี้ตำแหน่งของตราสโมสรจัดวางแตกต่างกันไป หากไม่ปรากฏบริเวณด้านซ้ายเหนือหน้าอกก็จะปรากฏอยู่ตรงกลาง

แฟชั่นฟุตบอลโลกดังกล่าวส่งผลถึงวงการฟุตบอลอังกฤษในช่วง 70 เช่นกัน ในระยะเวลาสั้นๆสีเหลืองกลายเป็นสีที่สามของทีมหรือไม่ก็เป็นสีของทีมเยือน เนื่องจากอิทธิพลของบราซิลซึ่งกำลังครอบครองฉากบนเวทีโลกในขณะนั้น


ปี 1979 เป็นกุญแจสำคัญในประวัติศาสตร์เสื้อฟุตบอล นอกเหนือจากความล้ำหน้าของทีมชาติสก๊อตแลนด์ที่พิมพ์นามสกุลของนักกีฬาลงบน เสื้อยืดเหนือหมายเลขแล้ว ข่าวใหญ่ต่อมาคือ บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อความบันเทิงชั้นนำสัญชาติญี่ปุ่นอย่างฮิตาชิ เข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนเสื้อนักกีฬาแห่งทีมลิเวอร์พูล

ทำให้เกิดข้อโต้เถียงกันในหน่วยงานในแวดวงฟุตบอลเรื่องโลโก้ตัวที่สามบนเสื้อนักกีฬา

ขณะที่สโมสรดาร์บี เคาน์ตี (Darby County) พยายามจัดการกับข้อตกลงอันล้มเหลวระหว่างผู้ผลิตรถยนต์ซาบ (Saab) ซึ่งเป็นผลมาจากข้อกำหนดของสมาคมฟุตบอล เหตุการณ์แบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับทีมฟุตบอลที่ไม่ใช่สมาชิกของสมาพันธ์ (non-league football) อย่างทีมจากเมืองเคทเทอริง (Kettering) ก่อนที่ลิเวอร์พูลจะแหกกฎทำให้ทีมอื่นๆพากันละเลยข้อบังคับดังกล่าว

ในที่สุดเมื่อกลางปี 80 ลีคส่วนใหญ่ก็มีเสื้อประดับโลโก้ผู้สนับสนุนเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่เป็นโลโก้ยี้ห้อเครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยใหม่และบริษัทเจ้าของโรงกลั่น เบียร์ (แต่การโฆษณาเครื่องดื่มมึนเมาเป็นประเด็นยุ่งเหยิงเพราะชุดจำลองของนักกีฬา สำหรับเด็กนั้นปราศจากโฆษณาของมึนเมามานาน
แล้ว)

แต่การอนุญาตให้สวมเสื้อโฆษณาในการถ่ายทอดได้เริ่มต้นเมื่อช่วงฤดูกาล ปีค.ศ.1983-1984 ก่อนหน้านั้นนักกีฬาสวมแต่เสื้อยืดไม่ระบุสปอนเซอร์ทุกครั้งที่มีการถ่ายทอด

นอกเหนือจากการอุปถัมภ์ของสปอนเซอร์แล้ว ในเรื่องการออกแบบของยุค 80 ซึ่งถือเป็นช่วงสมัยใหม่นำโดยแบรนด์ยุโรปที่มีประสบการณ์อย่าง Le Coq Sportif, Patrick และ Hummel มรดกในการออกแบบถูกโยนออกนอกหน้าต่างขณะที่ขอบเขตสีและสไตล์แบบดั้งเดิมถูก ท้าทาย สไตล์การแต่งตัวแบบตามสบายเข้ามาแทนที่

ทำให้ปกเสื้อแบบคอ ตั้งค่อยๆจากหายไป แทนที่ด้วยปกคอวีที่มักจะตกแต่งด้วยสีเพิ่มเข้ามาเป็นพิเศษ เนื้อผ้าคอตตอนลาจากไปโดยมีเนื้อผ้าอ่อนนุ่ม และทำจากเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ เสื้อไม่รัดรูปเฉยพอๆกับกางเกงขาบานในเวลานั้น รูปแบบการตัดเสื้อในสมัยนี้ค่อยๆเข้ารูปมากขึ้นและเทคโนโลยีแบบใหม่ทำให้ลูกเล่นบนเสื้อไม่ได้มีแค่แถบบางและแถบเงาอีกต่อไป

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นแรงขับเคลื่อนดีไซน์ชุดนักกีฬาตั้งแต่ปลายปี 80 และด้วยการถือกำเนิดเนื้อผ้าแบบใหม่ทำให้เสื้อแบบหลวมกลับมาอีกครั้ง เพราะสโมสรหลายแห่งตระหนักว่าเสื้อยืดที่สวมใส่สบายไม่จำเป็นต้องมีน้ำหนัก มากอีกต่อไป นอกจากนี้การสวมเสื้อหลวมๆทำให้นักกีฬาดูใหญ่โตและน่าเกรงขาม

แฟชั่นหลวมๆนี้ค่อยๆหลวมมากขึ้นทีละน้อยเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับข้อมือเสื้อและกางเกงในยุคก่อนหน้านี้ และ ไม่นานนักวงล้อแฟชั่นก็เริ่มหมุนกลับมาอีกครั้งเมื่อเสื้อปกติดกระดุมกลับมา นิยมอีกครั้งอย่างไม่มีใครคาดคิด อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีการพิมพ์ผ้าอัน ก้าวหน้าทำให้ดีไซน์แอปแสตรคแปลกใหม่สามารถรวมอยู่ในเนื้อผ้าได้ตั้งแต่การ ผลิตในขั้นต้น ไม่นานนักสโมสรฟุตบอลหลายแห่งงัดลวดลายจุด แต้มระบายและแม้แต่การกระจายสีรวมอยู่ในการรูปแบบการใช้สีสันต่างๆบนเสื้อฟุตบอล

แผนการตลาดของเสื้อฟุตบอลระเบิดขึ้นเมื่อต้นปี 90 เพราะดูเหมือนว่าทุกคนจะเป็นเจ้าของเสื้อฟุตบอลทีมโปรดอย่างน้อย 1 ตัว จากการขยายตัวในเส้นทางแฟชั่น ทำให้สโมสรต่างๆตระหนักว่ารายได้ของพวกเขามาจากเส้นทางสายนี้ ทำให้เกิดการตั้งเวลาการเปลี่ยนลายบนเสื้อเพื่อให้แต่ละปีสโมสรสามารถผลิต เสื้ออกมาได้ฤดูกาลละ 1 เวอร์ชั่น

ความนิยมเสื้อฟุตบอลดังกล่าวอย่างแพร่หลายก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ จากบรรดาผู้ปกครองที่เขียนถึงสื่อทั่วโลกเรื่องราคาที่แพงเกินกว่าเหตุ ทั้งที่เสื้อแต่ละแบบหมดความนิยมอย่างรวดเร็ว

แต่แน่นอนว่าบรรดาแฟนคลับที่มีเหตุผลจะเข้าใจว่าโอกาสที่เสื้อฟุตบอลติด ป้ายครึ่งราคาจะวางอยู่ในร้านนานพอให้พวกเขาเข้าไปเลือกซื้อได้ เพราะเมื่อใกล้หมดฤดูกาลแข่งขัน ร้านค้าก็จะเตรียมนำเสื้อแบบใหม่มาวางขายแทน

อันที่จริงแล้วแฟนคลับส่วนใหญ่ต่างตั้งหน้าตั้งตารอคอยการเปิดเผยเสื้อ แบบใหม่ล่าสุดต่อสาธารณชนและคาดหวังว่าเสื้อเหล่านี้จะนำชัยชนะมาสู่ทีม ฟุตบอลที่พวกเขาสนับสนุน

ปีต่อปี เสื้อต่อเสื้อ เมื่อผ่านมายังช่วงเวลานี้ แบรนด์หลายแบรนด์ต่างล้มหายตายจาก

และอัมโบรคือตราอันคลาสสิค ที่ผ่านเรื่องราวทั้งหมดที่เบ่า นับจากบรรทัดแรก

แม้ยังไม่ได้เลิกผลิต แต่ก็มีพื้นที่บนเสื้อ น้อยเต็มทีแล้ว















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติรองเท้า

ประวัติรองเท้าNEWBALANCE คำว่าสวัสดีกับเพื่อนๆ ทุกคนเลยที่เข้ามาติดตามการรีวิว สินค้าอินเท รน ด์   gadget  ใหม่ๆ รวมไปถึงตัวอุป...